วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการพัฒนาท้องถิ่น

เวลาที่พวกเราจะเริ่มทำอะไรต่อมิอะไรที่เราคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับท้องถิ่นของเรา หรือจะพัฒนาท้องถิ่นของพวกเรา ทำไมใครๆ ก็พูดถึงแต่ว่า "ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม" หรือไม่ก็ "ต้องรับฟังความคิดเห็นของคนในชุมชนด้วย" บางทีก็พูดกันว่า "การมีส่วนร่วมของประชาชนสำคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่น" หรืออะไรต่อมิอะไรทำนองนี้อีกมากมาย แล้วที่ผ่านมาประชาชนอย่างเราๆ ก็ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ต่างๆ อยู่แล้วนี่นา แล้วแบบนี้ยังไม่เรียกว่า พวกเราก็มีส่วนร่วมกับการพัฒนาท้องถิ่นของเราแล้วหรือแล้วจริงๆแล้วคำว่า "การมีส่วนร่วม" หมายถึงอะไรกันแน่ คำว่า "การมีส่วนร่วม" มีความหมายแตกต่างอย่างมากเลย กับคำว่า "ความร่วมมือ" แต่คนก็มักสับสน บางทีในการปฏิบัติแยกกันยากมากเลย เพราะว่า "ความร่วมมือ (Cooperation)" หมายถึง มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็น "เจ้าของ หรือเจ้าภาพ" งานหรือกิจกรรมนั้นๆ แล้วขอให้อีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ก็ฝ่ายอื่นๆ มาร่วมด้วยช่วยกัน เช่น ขอความร่วมมือด้านเงินทอง สิ่งของ บางที ก็ของแรง ลงแรงกัน หรือขอเวลา ในการทำกิจกรรมก็มีลักษณะก่อเกิดเป็นครั้งคราวไป ไม่ได้มุ่งความต่อเนื่อง หรือแม้แต่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วม อย่างเช่น เทศบาลจะจัดงานสงกรานต์ก็เชิญชวนพวกเราไปร่วมงาน ร่วมทำบุญตักบาตร ร่วมขบวนแห่ หรือ อบต.จะจัดงานพัฒนา ก็เชิญชวนประชาชนไปร่วมแรงทำความสะอาด
คำว่า "การมีส่วนร่วม" (Participant) มีการให้ความหมายไว้เยอะมากๆแล้วก็มีหลายมิติ หลายเหตุการณ์ เราก็เลยต้องพิจารณาเฉพาะกรณีๆ ไป อย่างเช่น
1. การมีส่วนร่วม คือ กระบวนการซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีอิทธิพล และมีส่วนร่วมในการริเริ่มการพัฒนาและการตัดสินใจที่มีผลต่อทรัพยการทั้งหลาย และมีผลต่อเขาทั้งหลาย
2. การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับภารกิจ หรือโครงการที่ส่วนราชการจะดำเนินการ ซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่โดยปกติของประชาชนในชุมชนนั้น การทำความเข้าใจถึงผลกระทบและแนวทางแก้ปัญหาที่ส่วนราชการจะดำเนินการ และการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างรัฐและภาคประชาชน โดยให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น และรัฐต้องรับฟังและแก้ไขปัญหาจนประชาชนเกิดความพึงพอใจและมีส่วนร่วมในการผลักดันในภารกิจหรือโครงการนั้น เกิดผลสำเร็จ เพราะเห็นว่าจะเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน เพราะฉะนั้น ถ้าดูตามความหมายของการมีส่วนร่วมข้างต้นแล้ว ในการพัฒนาชุมชนและสังคมในเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชน ก็จะประกอบไปด้วยสามสิ่งหลักคือ ความคิดริเริ่มของประชาชนในท้องถิ่น ความรับผิดชอบ และความรู้สึกเป็นเจ้าของในการดำเนินโครงการ

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เลือกงานที่ท่านรักแล้วท่านจะไม่ต้องทำงานเลยตลอดชีวิต

ปราชญ์ขงจื้อ กล่าวไว้ว่า

“เลือกงานที่ท่านรัก
แล้วท่านจะไม่ต้องทำงานเลยตลอดชีวิต”



รักงานจริงยิ่งชีวิต
ฉันรักงานรักจริงยิ่งชีวิต
ถูกหรือผิดอยากจะทำให้ถ้วนทั่ว
ถ้าทำผิดก็เป็นครูอยู่กับตัว
ดีหรือชั่วขอแต่ให้ได้ทำงาน (หลวงวิจิตรวาทการ)

ลอง
ยามเหนื่อยนัก พักหน่อยค่อยเริ่มใหม่
กังวลใจ ยิ้มบ้าง เดี๋ยวจางหาย
รำคาญฟัง เฉยไว้ ไม่นานคลาย
ลำบากสาย ตาจ้อง ลองปิดตา
เราคือผู้ ปฏิบัติ ย่อมขัดข้อง
มีลองของ ลองบ่น จนลองด่า
มีลองจริง ลองเล่น เป็นธรรมดา
เพียงแต่ว่า เราอย่าลาม ไปตามลอง

ดีครับผม
เราวิเคราะห์ เขาวิจารณ์ แค่ผ่านเห็น
เราจำเป็น ต้องชี้แจง เขาแกล้งเฉย
เราวางแผน เสนอร่าง เขาวางเลย
พอเขาเอ่ย ไม่เอา เราก็ซม
เป็นผู้น้อย คอยก้ม พนมกราบ
คอยรับทราบ ครับพี่ ดีครับผม
แก้ก็รับ ปรับก็งาม ไปตามลม
จึงเหมาะสม พอดี หน้าที่ เรา

นั่นแหละเรา
มีบางวันสายหน่อยไม่บ่อยนัก
บางวันพักก่อนเที่ยงเพียงบางหน
บางวันเลิกก่อนงานใช่คร้านตน
ด้วยเหตุผลซ้ำซ้ำคนทำงาน
เพราะงานบ้านมากมายจึงสายบ้าง
เพราะรอบข้างเพื่อนพ้องต้องประสาน
เพราะงานเลี้ยงงานศพต้องพบพาน
ใช่หักหาญลาเพลินจนเกินงาม
ใยไม่มองหลายคราวมาเช้ามืด
บางเที่ยงยืดท้องไส้ไปบ่ายสาม
บางเย็นต่อสี่โมงครึ่งถึงสองยาม
บวกลบกลบยามหยวนหยวนควรคำนึง
ถึงงานด้อยงานดีปีละขั้น
ถึงขยันแสนขยันก็ขั้นหนึ่ง
ถึงงานห่วยป่วยจึงครั้งละครึ่ง
ไม่เคยถึงสองขั้นนั่นแหละเรา